THAITOPO บอร์ดแสดงวิสัยทัศน์ด้านGIS 2006-2017
Would you like to react to this message? Create an account in a few clicks or log in to continue.

สอบถามเรื่องการย้ายกล้องtotal station

2 posters

Go down

สอบถามเรื่องการย้ายกล้องtotal station Empty สอบถามเรื่องการย้ายกล้องtotal station

ตั้งหัวข้อ by tsp Thu Jun 21, 2012 11:16 pm

ผมเป็นมือใหม่สำหรับกล้อง total ครับ อยากสอบถามเรื่องการย้ายกล้องครับในกรณีที่เราทำการสำรวจแล้วแต่ยังไม่เสร็จ และเราต้องการย้ายกล้องไปตั้งจุดใหม่ เวลาเราย้ายกล้องจากจุดเดิมไปตั้งที่จุดใหม่ เราต้องทำการตั้งค่าแกนกล้องใหม่ไหมครับ แล้วเราจะส่อง BS ไปที่จุดไหนครับ ในกรณีที่เป็นงานเดียวกัน ที่ผมถามคงไม่งงกันนะครับ เพราะสงสัยการย้ายกล้องของ total station มากๆ

ขอบคุณครับ หวังว่าคงมีคำตอบให้สำหรับเด็กหัดใหม่นะครับ ^^

tsp

จำนวนข้อความ : 21
Registration date : 21/06/2012

ขึ้นไปข้างบน Go down

สอบถามเรื่องการย้ายกล้องtotal station Empty Re: สอบถามเรื่องการย้ายกล้องtotal station

ตั้งหัวข้อ by tsp Fri Jun 22, 2012 12:00 am

ถ้า งง กับ คำถาม บอกได้นะครับ เพราะจะพยายามอธิบายใหม่ เพราะตอนนี้ลองส่อง แล้วก็ทำการย้ายกล้องดู แล้วนำข้อมูลมาลง ตำแหน่งของจุดที่ส่องหลังจากย้ายกล้องแล้ว มันซ้อนทับกันอยู่ครับ มันไม่ต่อเนื่องกัน

tsp

จำนวนข้อความ : 21
Registration date : 21/06/2012

ขึ้นไปข้างบน Go down

สอบถามเรื่องการย้ายกล้องtotal station Empty Re: สอบถามเรื่องการย้ายกล้องtotal station

ตั้งหัวข้อ by tsp Fri Jun 22, 2012 1:20 am

พอดีค้นหาดูในกระทู้เก่าๆ เห็นคุณ wut_eng ได้ทำการสอบถามไว้แล้ว แต่รูปภาพไม่แสดงแล้ว แต่ก็พอเข้าใจคร่าวๆ แล้วในหลักการ หรือท่านใดจะกรุณาตอบให้กระจ่าง ก็ยินดีครับ เพราะมือใหม่สำหรับกล้อง total จริงๆ

tsp

จำนวนข้อความ : 21
Registration date : 21/06/2012

ขึ้นไปข้างบน Go down

สอบถามเรื่องการย้ายกล้องtotal station Empty Re: สอบถามเรื่องการย้ายกล้องtotal station

ตั้งหัวข้อ by GeoSpatial Fri Jun 22, 2012 12:57 pm

>> ขอบคุณสำหรับคำถามครับ เพราะกำลังเข้ากับสถานการณ์ช่วงนี้อยู่พอดี กับเรื่องการใช้งานกล้องโททอล สเตชั่น...พอดีเพิ่งเสร็จจากงานไปตรวจแก้ไขงานสำรวจวงรอบของ พื้นที่ๆ จะสร้างโรงงานแห่งหนึ่ง ซึ่งตอนนี้ยังรกทึบไปด้วยป่าละเมาะ สลับพื้นที่ว่างหลังการถากถาง และ บ.รับเหมาก่อสร้างฯ ที่รับงาน เพิ่งซื้อกล้องโททอลสเตชั่นมาใช้ ยี่ห้อ Hi-Target (จีน) รุ่น ZTS-120 (2") อ่านแบบไร้เป้า ราคาหนึ่งแสนกว่าบาท ซึ่งเท่าที่สังเกตุ วัสดุต่างๆที่ใช้ผลิตตัวกล้องฯ รู้สึกว่าจะทนทานดีเหมือนกัน และเมนูคำสั่งที่หน้าจอ 'ดูคล้ายเป๊ะๆ' เมนูของกล้องฯ ยี่ห้อ Topcon Shocked

สอบถามเรื่องการย้ายกล้องtotal station Total-Station

แถมด้วยสูตรงานสำรวจฯ ที่ผมเคยลงเผยแพร่เอาไว้ สำหรับเครื่องคิดเลข Casio Fx- CG10...เจ้ากล้องฯ ตัวนี้ 'จัดเต็ม' มีไว้ให้พร้อมสรรพ เป็นคำสั่งโปรแกรม ในตัวกล้องพร้อมใช้งาน affraid
สอบถามเรื่องการย้ายกล้องtotal station 226255590737resize
*(ส่วนตัว)...ชอบครับ คุณภาพ กับ ราคา ถือว่าใช้ได้ทีเดียว

>> ส่วนปัญหาของ บ.รับเหมาก่อสร้างฯ ที่ทำให้เกิดมีการตรวจสอบกันเกิดขึ้นก็เนื่องมาจาก ความคิดแบบเข้าใจเอาเองของผู้รับเหมาฯ ที่ว่า "แค่มีจุดออกกล้องฯ ให้ 2 จุด หรือมี B.S. ให้กล้องฯ ก็สามารถทำการเซอร์เวย์ได้แล้ว เอาคนขับรถมาฝึกหัดใช้กล้องฯ ก็ทำการสำรวจได้ เดี๋ยวนี้ไม่จำเป็นต้องไปจ้าง หรือเรียนกันแล้ว มีเทคโนโลยีฯ ให้เลือกใช้งานง่าย สะดวกและรวดเร็ว"...จากนั้นผู้รับเหมาฯ ดังกล่าวก็ใช้ GPS Garmin (Etrex) เครื่องเล็กๆ สร้างจุด/หมุด ขึ้นมา 2 จุด (ค่าระดับของจุดใช้ 100.000) เอากล้องกับเป้า มาตั้ง และทำการ B.S. เสร็จสรรพ ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นหลังจากกล้องฯ อ่านไปที่เป้า B.S. เขาบอกว่าเป็นความคลาดเคลื่อนของดาวเทียมฯ (โอ้ว...แม่เจ้า)...หลังจากนั้น ก็ลุยถั่ว เก็บจุดสปอต โทโป ตรงไหนทึบ กล้องฯมองไม่เห็น ก็สร้างจุด (เป้าหน้า) ขึ้นมา แล้วย้ายกล้องฯไปตั้ง ส่องอ่านกลับมาที่เป้าหลัง เขาบอกว่าผิดแค่ 2-3 มิลลิเมตร (เขาว่ากล้องสุดยอดมาก อ่านได้ละเอียด)...ดำเนินงานเช่นนี้ จนเก็บโทโปฯแล้วเสร็จ และโหลดข้อมูลจุดสำรวจ ส่งให้วิศกรฯ เพื่อนำไปสร้างแผนที่เส้นคอนทัวร์ และทำการออกแบบ
สิ่งปลูกสร้าง ฯลฯ หลังจากนั้น วิศกรฯ ส่งข้อมูลตำแหน่ง Staking ตามที่ออกแบบ กลับมาให้ บ.รับเหมาก่อสร้างฯ ดังกล่าว ไปเคลียร์พื้นที่และทำการกำหนดตำแหน่ง เสาเข็ม ตัวอาคาร ฯลฯ

ปัญหาเกิดทันที...เมื่อทีมสำรวจเอากล้องฯไปทำการกำหนดตำแหน่ง Staking/Peging ตามที่ออกแบบ ปรากฏว่า 'ระยะทาง' ในแบบ กับระยะทางในหน้างาน 'ไม่เท่ากัน ต่างเป็นเมตรๆ'...เท่านั้นล่ะ ทาง บ.รับเหมาก่อสร้างฯ ก็โบ้ยไปทางคนเขียนแบบว่าออกแบบผิด ส่วนทางคนออกแบบ/เขียนแบบ ก็โบ้ยกลับมาทางทีมสำรวจฯว่า เขาใช้ข้อมูลสำรวจที่ส่งมาให้ จะผิดก็ต้องผิดที่ข้อมูลสำรวจ... Mad

...และจากเรื่องราวข้างต้น เป็นสาเหตุให้ผมต้องเข้าไปร่วมในงานนี้ด้วยอีกคน...เรื่องราวต่อจากนี้ ท่านผู้ที่กำลังอ่านบทความนี้อยู่ สามารถที่จะพิจารณาและทำนายต่อไปได้ว่าเรื่องราวจะดำเนินไปต่อไปอย่างไร No

* มีผู้รับเหมาฯ หลายราย ที่ยังเข้าใจผิดอย่างยิ่ง ที่ว่าขอให้มีแค่จุดแบ๊กไซด์ หรือหมุดคู่สำหรับออกงานกล้องฯ การทำงานกับกล้องโททอล สเตชั่นก็เป็นเรื่องง่ายดาย
* ยิ่งหนักไปกว่านั้น ณ ปัจจุบัน กับการบอกต่อกันไปในหมู่ผู้รับเหมาฯ ว่าโปรแกรม Civil 3D สามารถสร้างแผนที่เส้นชั้นความสูงได้ทันที แค่ดึงภาพมาจากโปรแกรม Google Earth เลือกเอาตรงพื้นที่ๆ ต้องการ โปรแกรมสามารถที่จะสร้างแผนที่ภูมิประเทศและกำหนดความละเอียดของเส้นชั้นความสูงได้ด้วย เช่นถ้าเราอยากได้ข้อมูลพื้นที่ แบบระเอียดๆ เราก็แค่ไปกำหนดเส้นคอนทัวร์ Interval ให้เป็น 0.5,0.2 หรือ 0.1 อยากได้ข้อมูลแบบไม่ละเอียดก็กำหนดเป็น 5, 10...ไม่จำเป็นต้องส่งทีม Survey ไปสำรวจให้สิ้นเปลืองงบประมาณ...
confused

สอบถามเรื่องการย้ายกล้องtotal station 01

>> ได้แต่นิ่งเงียบ และอึ้งตะลึงงันไป เมื่อผู้รับเหมาฯ คนหนึ่งพูดเรื่องนี้ให้ผมฟัง No

-----------------------------------------------------------------------------

ขออภัยที่ออกนอกเรื่องไปซะไกล Razz

สมมุติว่า กล้องฯตั้งอยู่ที่จุด A โดยมีหมุดควบคุมอะซิมัท B เป็น B.S และต้องการที่จะขยายจุดควบคุม C ต่องาน ออกไปข้างหน้า สามารถทำได้โดย;

สอบถามเรื่องการย้ายกล้องtotal station Andystraversediagramres

1. กล้องฯตั้งอยู่ที่จุด A ทำการอ่านเป้าหน้า/หมุดหน้า C และบันทึกค่าต่างๆ ที่กล้องอ่านได้เก็บไว้
2. ย้ายกล้องฯ ไปตั้งที่จุด C (ตั้งกล้อง ปรับลูกน้ำ ฟองกลม ฟองยาว ให้เรียบร้อย) กำหนดค่าพิกัด+ระดับ ของ C ที่อ่านได้จากข้อ 1 ให้กับตัวกล้องฯ (Occupile) และทำการกำหนดค่าพิกัด+ระดับ จุดที่จะใช้เป็น B.S ให้กับตัวกล้องฯ (ในกรณีนี้ใช้จุด A) แต่ถ้ากล้องสามารถส่องเห็น B ก็จะสามารถช่วย cross check ความถูกต้องของจุด C (ที่กล้องฯตั้งอยู่) ว่ามีความถูกต้อง หรือคลาดเคลื่อนอย่างไร (จากสูตร Resection)
3. ส่องกล้องฯ ไปยังจุด A (เป็น B.S) และสังเกตุค่าพิกัด+ระดับ มุม Azimuthไป-กลับ ที่กล้องฯอ่านได้ว่าเหมือนหรือต่างอย่างไร กับค่า A ที่มีอยู่เดิม ความถูกต้องอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้หรือไม่ (ค่าความถูกต้องในอุดมคติ คือต้องมีค่าต่างๆเท่ากันหรือเหมือนเดิมทุกประการ)
4. ถ้ายอมรับได้ จากข้อ 3 สามารถทำการสำรวจฯ เก็บตำแหน่ง+ระดับ อื่นๆ ต่อไป
5. ในกรณีที่ต้องการขยายหมุด หรือสร้างจุดควบคุมแบบต่อเนื่องเพิ่มขึ้นเป็น D, E, F ฯลฯ ให้ทำซ้ำขั้นตอน จากข้อ 1 ถึง 4 อีกครั้ง

* ศึกษาเพิ่มเติมเรื่องงานสำรวจฯวงรอบ และเกณฑ์ความถูกต้อง

>> ส่วนในกรณีที่ยังสำรวจฯ ไม่แล้วเสร็จ สามารถย้อนกลับมาต่องาน/เพิ่มงานได้ ตราบใดที่ หมุด/เป็ก/หลัก/หมายตำแหน่ง ยังไม่ถูกเคลื่อนย้าย หรือสูญหาย และยังมีข้อมูลค่าพิกัด+ระดับ สำหรับจุดเหล่านั้นอยู่
>> เป็นการอธิบายแบบหลักการ ทั่วๆไปครับ ถ้ายังสงสัย สามารถโพสต์ถามเพิ่มเติมได้ครับ

alien


แก้ไขล่าสุดโดย GeoSpatial เมื่อ Sat Jun 23, 2012 4:44 pm, ทั้งหมด 1 ครั้ง
GeoSpatial
GeoSpatial

จำนวนข้อความ : 274
Registration date : 06/12/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

สอบถามเรื่องการย้ายกล้องtotal station Empty Re: สอบถามเรื่องการย้ายกล้องtotal station

ตั้งหัวข้อ by tsp Fri Jun 22, 2012 1:58 pm

สอบถามเพิ่มเติมกรณีที่ เราส่องไปที่เป้า C เราใช้เป็นเป้าโพลล่อได้หรือไม่ครับ หรือว่าต้องใช้สามขามาตั้งเท่านั้น และค่าความคลาดเคลื่อนจะเยอะมากไหมครับ

tsp

จำนวนข้อความ : 21
Registration date : 21/06/2012

ขึ้นไปข้างบน Go down

สอบถามเรื่องการย้ายกล้องtotal station Empty Re: สอบถามเรื่องการย้ายกล้องtotal station

ตั้งหัวข้อ by GeoSpatial Fri Jun 22, 2012 8:29 pm

>> จุด/หมุดควบคุม ต้องตั้งด้วยสามขา (ปรับลูกน้ำ ฟองกลม ฟองยาวให้เรียบร้อย) เท่านั้นครับ ส่วนความแตกต่างระหว่าง การใช้สามขา กับการใช้โพล+ลูกน้ำฟองกลม ความคลาดเคลื่อนจะต่างกันในระดับเซนติเมตรครับ...แต่ขอแนะนำให้ใช้สามขาครับ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับงานสำรวจฯวงรอบ ต้องใช้สามขาเท่านั้น

alien
GeoSpatial
GeoSpatial

จำนวนข้อความ : 274
Registration date : 06/12/2010

ขึ้นไปข้างบน Go down

สอบถามเรื่องการย้ายกล้องtotal station Empty Re: สอบถามเรื่องการย้ายกล้องtotal station

ตั้งหัวข้อ by tsp Fri Jun 22, 2012 11:37 pm

รับทราบครับ ขอบคุณมากครับ มีปัญหาการใช้งาน จะสอบถามเพิ่มเติมอีกครั้งนะครับ ตอนนี้ งานส่วนใหญ่ที่ผมทำ คือการสำรวจแนวถนนเดิม เพื่อขยายช่องจราจร ครับ

tsp

จำนวนข้อความ : 21
Registration date : 21/06/2012

ขึ้นไปข้างบน Go down

ขึ้นไปข้างบน

- Similar topics

 
Permissions in this forum:
คุณไม่สามารถพิมพ์ตอบ